วันอาทิตย์

การป้องกันโรคไก่ต่อ...


5.พยาธิไส้เดือนไก่...
       ไก่เล็กอายุ 1-3 เดือนจะมีพยาธิรบกวนมาก เมื่อพ้นระยะนีไปแล้ว การสูญเสียมีน้อยมากไก่ที่มีพยาธิจะมีอาการซูบผอมเบื่ออาหารขนหยองปีตก ถ้าลูกไก่มีพยาธิมากจะตายได้
   ยาถ่ายพยธิควรใช้ยาพวกปิปเปอราซีนชนิดแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกลัม ต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม หรือผสมอาหารขนาด 0.5% เมื่อไก่อายุ 2-3 เดือน ไม่ควรให้มากเกินไปกว่านี้
6.พยาธินัยน์ตาไก่
     มีแมลงสาบเป็นตัวพาหะ ไก่จะกระพริบตาบ่อยๆ น้ำตาไหล ตาอักเสบเป็นหนอง บวมปิดให้ใช้น้ำเกลือหรือน้ำมะเกลือคั้น ใช้ยาฉุนแช่น้ำหยอดที่ตาไก่แล้วเขี่ยพยาธิออก หยอดตาไก่ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่นคลอแรมแฟนนิคอล
7.พยาธิภายนอก...
   มีหลายตัวด้วยกัน เช่น หมัด เหา ไร อาศัยอยู่ตามผิวหนังและขนไก่ ทำความรำคาญให้แก่ไก่มาก จะมีผลต่อความเจริญเติบโตของไก่มาก
   การป้องกันรักษา ใช้ยากำจัดพยาธิภายนอกฉีดพ่นเล้าไก่อยู่เป็นประจำ เช่น มลาไธออน โรทิโนน
8. ปรวด...
       คือเนื้องอกออกมามากกว่าปกติ มักเกิดบริเวณอุ้งเท้าและหน้าอก เนื่องจากเลี้ยงดูไม่ดี
 ปรวดอุ้งเท้า เกิดจากการเลี้ยงดูไก่บนพื้นดินที่แข็ง กลางคืนนอนบนคอน กระโดดขึ้นลงทุกวันอาจทำให้เกิดแผลและลุกลาม กลายเป็นปรวดหรือเนื้องอกได้
    ปรวดอุ้งเท้า แก้ได้โดยหายางในรถยนต์มาตัดเป็นรองเท้าแตะเล็กๆใส่ให้ไก่ โดยเจาะเป็นรู 4 รู สวมนิ้วทั้งสี่ป้องกันชั่วคราว บางคนใช้กาวตราช้างหยดบริเวณอุ้งเท้าที่เป็นปรวด 3-4 วันกาวจะซึมลงไปถึงเนื้อ จะทำให้ปรวดถูกดุงออกมาแบบถอนรากถอนโคน แล้วใช้เกลือโรยซ้ำอีกครั้งใช้ผ้าพันแผลหุ้มไว้อีกสักพัก
    ปรวดหน้าอก เกิดจากแผลที่ถูกแทงด้วยเดือยหรือเล็บ หรือน้ำหนักตัวกดทับขณะที่นอนบนพื้นไม้แข็งนานๆเข้าเกิดการอักเสบและติดเชื้อหนังเป็นก้อนสีเหลืองนูนเด่นออกมา
     ถ้าปรวดเกิดขึ้นใหม่ๆ ให้กินยาปฏิชีวนะพวกเพนนิซิลิน ครั้งละ  250 มิลลิกรัม เช้าเย็นวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 4-5 วัน ในวันแรกฉีดสเตอรอยด์สังเคราะห์ เช่น เด็กซาเมทาโซน จำนวน 0.25 ซี.ซี. เข้าบริเวณที่บวม โดยให้ยาเข้าไปผสมกับของเหลวในเนื้อกดหรือนวดเบาๆให้ยากระจายไปทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วผ่าตรงที่บวมทางส่วนล่างของหน้าอก ขนาดประมาณ 1 ซ.ม. ใช้มือรีดหรือสวมเข็มเข้ากับกระบอกฉีดยา สอดเข้าไปในแผลที่ผ่าใต้ผิวหนังไปสู่บริเวณที่บวม แล้วดูดน้ำออกจนหมดยิ่งดี